work hard to survive VS work life Balance
1. กระทู้แห่งวันเลยครับ เมื่อวานนี้แชร์กันเต็มหน้า FACEBOOK ของคุณรวิศ “ดูจากบรรยากาศเศรษฐกิจ 1-2 ปีต่อจากนี้ บอกเลยว่าใครยังทำงานชิล work life balance slow life อยู่ไม่รอดแน่นอน ตอนนี้ต้องกลับเข้าสู่บรรยากาศ work hard to survive แล้ว”
2. ผมแชร์มุมมอง ประสบการณ์ส่วนตัวแล้วกันนะครับ ทำยังไงให้อยู่รอด ในฐานะมนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน ?... เอาหลักก่อน “การวางแผนทางการเงิน การเตรียมตัวกับวิกฤติทางการเงิน ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ๆ นะ ต้องเตรียมมาตลอดหลายสิบปี มาเตรียมเอาตอนนี้บางทีก็ไม่ทัน เพราะรายจ่ายมัน Fixed แต่…เตรียมตัวก็ดีกว่าไม่เตรียมตัวแน่ ๆ
3. ผมเชื่อมาตลอดนะว่า work life balance ไม่มีจริง ไม่มีหรอก ทำงาน ๆๆๆๆ ให้หนัก แล้วไปพักผ่อน หรือสำเร็จเร็วแล้วไปเที่ยวรอบโลก ไม่ต้องทำงาน ตราบใดที่คนรวยที่สุดในโลกคนนึงยังต้องทำงานจนถึงอายุ 90 กว่า ๆ ก็ยังทำอยู่ เราก็ไม่ควรไปเชื่อเรื่องหยุดงานแล้วไปใช้ชีวิต ไม่งั้นชีวิตมันจะมีความหมายอะไรล่ะ
4. ที่ผ่านมา work hard มาตลอด แต่ work hard อย่างเดียวเอาตัวไม่รอดแน่นอน ต้อง work hand and work smart ด้วย เหมือนที่คนโบราณเขาบอกนั่นแหละ “ขยันผิดที่สิบปีก็ไม่รวย”
5. ผมเริ่มจากศูนย์นะ พูดได้เต็มปาก และวันนี้ไม่ได้รวยล้นฟ้านะ แล้วเป้าหมายก็ไม่ใช้รวยล้นฟ้าด้วย แต่วันนี้มี Wealth ในระดับหนึ่ง นั่นคือพอจะมี Passive income มา cover รายจ่ายได้…ใครที่เริ่มมีตรงนี้เมื่อไหร่ นั่นแหละเริ่มมี wealth แล้ว และถ้า passive มันมากกว่ารายจ่ายเป็น 2 เท่า 3 เท่า ….4 เท่า แน่นอน สิ่งที่มันมากขึ้นคือ Security แต่ความสุขมันไม่ค่อยขยับหรอก มันสุขสุด ๆตั้งแต่ 1 -2 เท่า เลยจากนี้ความสุขขยับยากแล้ว
6. พอเราเริ่มมี Wealth ระดับหนึ่ง เราจะมี Work life flow อันนี้น่าจะเหมาะสมกว่า นั่นคือ ทำงานไปด้วย แบ่งเวลาทำอย่างอื่นไปด้วยในแต่ละวัน ในแต่ละสัปดาห์ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อน ออกไปเที่ยว ดูแลครอบครัว ฯลฯ ทำสลับ ๆ กันไป Say Yes ในสิ่งที่อยากทำ และ Say No ในสิ่งที่ไม่อยากทำได้มากขึ้น และจะเข้าใจกับคำว่า “Passive income เอาไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และ Active Income เอาไว้หล่อเลี้ยงจิตใจ”
7. “กระจายความเสี่ยง” ทุกอย่างเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาน การลงทุน ฯลฯ ยกตัวอย่าง “งาน” ผมมีทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง อาชีพเสริม อะไรที่หาเงินได้เอาหมด คำที่ชอบที่สุดคือ “รับจ้างทั่วไป” งานหลักเป็นหมอ โรงพยาบาลไหนจ้างก็เอาหมด งานเสริมก็เอาหมด พัฒนาทักษะอื่น ๆ เสริมไปด้วย …เคยเจ็บมาแล้วนะ ไม่ใช่ไม่เคย เคยทำอยู่โรงพยาบาลเดียว วันนึงธุรกิจเขาไม่ดีเขาลด DF ลง โอ้โห หายไป 50% แต่รายจ่ายเราเท่าเดิม โดนแบบนี้มา 3 รอบ จนล่าสุด กระจายมันไป 5 วัน 5 ที่ แบบนี้อยู่รอดแน่ ๆ
8. ชีวิตประมาทไม่ได้เลย อย่าลืมนะว่าชีวิตมีขึ้นก็มีลง ไม่เคยมีขึ้นอย่างเดียว และก็ไม่เคยมีลงอย่างเดียวด้วย “ยามขึ้นอย่าหลง ยามลงอย่าท้อ ล้มได้รีบลุกให้ไว” ตอนขึ้นทำงานได้เงินเยอะ ๆ เป็นโอกาสอันดีที่จะสะสม ลงทุน ทำให้มันงอกเลย อย่าเพิ่งรีบไปใช้มัน
9. “ความจนมันน่ากลัวจริง ๆ” ผมปากกัด ตีนถีบมาตั้งแต่สมัยเรียน ทำงานหาเงิน ส่วนเกินก็เอาไปเก็บหอมรอมริบลงทุนมาเรื่อย ๆ กว่าจะมาถึงวันนี้ “ไม่ง่ายเลย” มีประโยคนึงที่บอก “ถ้าวันนี้คุณเห็นคน ๆ หนึ่งนั่งใต้เงาไม้ แปลว่าเขาปลูกมันไว้นานแล้ว” แต่เชื่อเถอะ ไม่มีคำว่าสายหรอก เริ่มปลูกต้นไม้กันตั้งแต่วันนี้แหละ อีก 10 ปี 20 ปี ก็ยังทันที่จะนั่งใต้เงาไม้ บางคนบอกนานเกินไป นานจัง “ทำเลย ทำเดี๋ยวนี้ ดีกว่าไม่ทำแน่นอน”
10. ตอนจบใหม่ทำใจไว้เลย “Work ไร้ balance” แน่ ๆ ไม่มีใครได้ทุกอย่างโดยไม่เสียอะไรบางอย่าง และไม่มีใครเสียทุกอย่างโดยไม่ได้อะไรคืนมาบางอย่าง ประสบการณ์ส่วนตัวยอมรับเลย เวลาดูแลตัวเองและครอบครัวน้อยมาก แต่ เพราะฐานะทางการเงินเริ่มมั่นคง เริ่มพอตัั้งตัวได้ ก็จะเริ่มมีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
11. อย่าไปหลงแล้ววิ่งไล่ตามความสำเร็จใน Social media เด็ดขาด กินดี อยู่หรู เที่ยวตลอด นั่ง BC ส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไหร่ บางคนหนี้เพียบ หรือบางทีเราเห็นคนนึงโพสท์ มันอาจเป็นครั้งเดียวในชีวิตเขาก็ได้ ทีนี้เรามีเพื่อนใน Social เป็นพัน ๆ คน หนึ่งวันก็พันเรื่องราว ทำให้หลงไปว่าทุกอย่างรอบตัวดูดีสวยงามไปหมด ถ้าไม่คิดอะไรก็แล้วไป แต่ถ้าเผลอไปวิ่งไล่ตาม หนี้ตามมาบานเบอะแน่นอน
12. เชื่อเหอะ…ใครผ่านวิกฤติปี 2019 – 2020 ช่วงนั้นมาได้ คุณเก่งมาก ๆ แล้ว ต่อให้จะมีวิกฤติจริงก็หนักหนาสาหัสไม่เท่าตอนนั้นหรอก ทุกอย่างปิดหมดแม้กระทั่งโอกาส แทบมองไม่เห็นอะไรเลย เรายังผ่านกันมาได้เลย เอาตรงนั้นเป็นบทเรียน เป็นพลัง แล้วเตรียมตัวรับมือถ้าวิกฤติมันจะเกิดขึ้นจริง ๆ
13. เราหลีกเลี่ยงวิกฤติไม่ได้หรอก เฉลี่ยทุกๆ 8 – 10 ปีก็จะเจอหนึ่งครั้งอยู่แล้ว ในชีวิตคนเราอย่างน้อยก็ต้องเจอหนัก ๆ 4 – 5 ครั้งในวัยทำงาน ….ควรมาตั้งคำถามว่า “เราจะอยู่รอดได้อย่างไรในแต่ละครั้งมากกว่า” ที่จะไปหาทางหลีกเลี่ยงมัน
14. “ส่วนตัว” ย้ำ “ส่วนตัว” ….เงินเฟ้อขึ้นทุกวัน ปัญหาหลาย ๆ อย่างเกิดจากเงินที่มันด้อยค่านี่แหละ ทำงานไปแลกกับเงินที่ด้อยค่าลง อายุมากขึ้น เรี่ยวแรงน้อยลง แต่ต้องทำงานหนักขึ้นแลกกับเงินที่ถูกด้อยค่าลง แล้วอะไรล่ะที่จะปกป้องเราจากเงินเฟ้อหรือเงินที่มันด้อยค่าได้ นอกจากการลงทุนแล้ว ก็มี ที่ดิน ทองคำ และบิตคอยน์ คือคำตอบ (ย้ำอีก กระจายความเสี่ยงนะ ไม่ได้ทุ่มไปอันใดอันหนึ่ง)
Aun Theeraphat
exxiq
1. กระทู้แห่งวันเลยครับ เมื่อวานนี้แชร์กันเต็มหน้า FACEBOOK ของคุณรวิศ “ดูจากบรรยากาศเศรษฐกิจ 1-2 ปีต่อจากนี้ บอกเลยว่าใครยังทำงานชิล work life balance slow life อยู่ไม่รอดแน่นอน ตอนนี้ต้องกลับเข้าสู่บรรยากาศ work hard to survive แล้ว”
2. ผมแชร์มุมมอง ประสบการณ์ส่วนตัวแล้วกันนะครับ ทำยังไงให้อยู่รอด ในฐานะมนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน ?... เอาหลักก่อน “การวางแผนทางการเงิน การเตรียมตัวกับวิกฤติทางการเงิน ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ๆ นะ ต้องเตรียมมาตลอดหลายสิบปี มาเตรียมเอาตอนนี้บางทีก็ไม่ทัน เพราะรายจ่ายมัน Fixed แต่…เตรียมตัวก็ดีกว่าไม่เตรียมตัวแน่ ๆ
3. ผมเชื่อมาตลอดนะว่า work life balance ไม่มีจริง ไม่มีหรอก ทำงาน ๆๆๆๆ ให้หนัก แล้วไปพักผ่อน หรือสำเร็จเร็วแล้วไปเที่ยวรอบโลก ไม่ต้องทำงาน ตราบใดที่คนรวยที่สุดในโลกคนนึงยังต้องทำงานจนถึงอายุ 90 กว่า ๆ ก็ยังทำอยู่ เราก็ไม่ควรไปเชื่อเรื่องหยุดงานแล้วไปใช้ชีวิต ไม่งั้นชีวิตมันจะมีความหมายอะไรล่ะ
4. ที่ผ่านมา work hard มาตลอด แต่ work hard อย่างเดียวเอาตัวไม่รอดแน่นอน ต้อง work hand and work smart ด้วย เหมือนที่คนโบราณเขาบอกนั่นแหละ “ขยันผิดที่สิบปีก็ไม่รวย”
5. ผมเริ่มจากศูนย์นะ พูดได้เต็มปาก และวันนี้ไม่ได้รวยล้นฟ้านะ แล้วเป้าหมายก็ไม่ใช้รวยล้นฟ้าด้วย แต่วันนี้มี Wealth ในระดับหนึ่ง นั่นคือพอจะมี Passive income มา cover รายจ่ายได้…ใครที่เริ่มมีตรงนี้เมื่อไหร่ นั่นแหละเริ่มมี wealth แล้ว และถ้า passive มันมากกว่ารายจ่ายเป็น 2 เท่า 3 เท่า ….4 เท่า แน่นอน สิ่งที่มันมากขึ้นคือ Security แต่ความสุขมันไม่ค่อยขยับหรอก มันสุขสุด ๆตั้งแต่ 1 -2 เท่า เลยจากนี้ความสุขขยับยากแล้ว
6. พอเราเริ่มมี Wealth ระดับหนึ่ง เราจะมี Work life flow อันนี้น่าจะเหมาะสมกว่า นั่นคือ ทำงานไปด้วย แบ่งเวลาทำอย่างอื่นไปด้วยในแต่ละวัน ในแต่ละสัปดาห์ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อน ออกไปเที่ยว ดูแลครอบครัว ฯลฯ ทำสลับ ๆ กันไป Say Yes ในสิ่งที่อยากทำ และ Say No ในสิ่งที่ไม่อยากทำได้มากขึ้น และจะเข้าใจกับคำว่า “Passive income เอาไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และ Active Income เอาไว้หล่อเลี้ยงจิตใจ”
7. “กระจายความเสี่ยง” ทุกอย่างเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาน การลงทุน ฯลฯ ยกตัวอย่าง “งาน” ผมมีทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง อาชีพเสริม อะไรที่หาเงินได้เอาหมด คำที่ชอบที่สุดคือ “รับจ้างทั่วไป” งานหลักเป็นหมอ โรงพยาบาลไหนจ้างก็เอาหมด งานเสริมก็เอาหมด พัฒนาทักษะอื่น ๆ เสริมไปด้วย …เคยเจ็บมาแล้วนะ ไม่ใช่ไม่เคย เคยทำอยู่โรงพยาบาลเดียว วันนึงธุรกิจเขาไม่ดีเขาลด DF ลง โอ้โห หายไป 50% แต่รายจ่ายเราเท่าเดิม โดนแบบนี้มา 3 รอบ จนล่าสุด กระจายมันไป 5 วัน 5 ที่ แบบนี้อยู่รอดแน่ ๆ
8. ชีวิตประมาทไม่ได้เลย อย่าลืมนะว่าชีวิตมีขึ้นก็มีลง ไม่เคยมีขึ้นอย่างเดียว และก็ไม่เคยมีลงอย่างเดียวด้วย “ยามขึ้นอย่าหลง ยามลงอย่าท้อ ล้มได้รีบลุกให้ไว” ตอนขึ้นทำงานได้เงินเยอะ ๆ เป็นโอกาสอันดีที่จะสะสม ลงทุน ทำให้มันงอกเลย อย่าเพิ่งรีบไปใช้มัน
9. “ความจนมันน่ากลัวจริง ๆ” ผมปากกัด ตีนถีบมาตั้งแต่สมัยเรียน ทำงานหาเงิน ส่วนเกินก็เอาไปเก็บหอมรอมริบลงทุนมาเรื่อย ๆ กว่าจะมาถึงวันนี้ “ไม่ง่ายเลย” มีประโยคนึงที่บอก “ถ้าวันนี้คุณเห็นคน ๆ หนึ่งนั่งใต้เงาไม้ แปลว่าเขาปลูกมันไว้นานแล้ว” แต่เชื่อเถอะ ไม่มีคำว่าสายหรอก เริ่มปลูกต้นไม้กันตั้งแต่วันนี้แหละ อีก 10 ปี 20 ปี ก็ยังทันที่จะนั่งใต้เงาไม้ บางคนบอกนานเกินไป นานจัง “ทำเลย ทำเดี๋ยวนี้ ดีกว่าไม่ทำแน่นอน”
10. ตอนจบใหม่ทำใจไว้เลย “Work ไร้ balance” แน่ ๆ ไม่มีใครได้ทุกอย่างโดยไม่เสียอะไรบางอย่าง และไม่มีใครเสียทุกอย่างโดยไม่ได้อะไรคืนมาบางอย่าง ประสบการณ์ส่วนตัวยอมรับเลย เวลาดูแลตัวเองและครอบครัวน้อยมาก แต่ เพราะฐานะทางการเงินเริ่มมั่นคง เริ่มพอตัั้งตัวได้ ก็จะเริ่มมีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
11. อย่าไปหลงแล้ววิ่งไล่ตามความสำเร็จใน Social media เด็ดขาด กินดี อยู่หรู เที่ยวตลอด นั่ง BC ส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไหร่ บางคนหนี้เพียบ หรือบางทีเราเห็นคนนึงโพสท์ มันอาจเป็นครั้งเดียวในชีวิตเขาก็ได้ ทีนี้เรามีเพื่อนใน Social เป็นพัน ๆ คน หนึ่งวันก็พันเรื่องราว ทำให้หลงไปว่าทุกอย่างรอบตัวดูดีสวยงามไปหมด ถ้าไม่คิดอะไรก็แล้วไป แต่ถ้าเผลอไปวิ่งไล่ตาม หนี้ตามมาบานเบอะแน่นอน
12. เชื่อเหอะ…ใครผ่านวิกฤติปี 2019 – 2020 ช่วงนั้นมาได้ คุณเก่งมาก ๆ แล้ว ต่อให้จะมีวิกฤติจริงก็หนักหนาสาหัสไม่เท่าตอนนั้นหรอก ทุกอย่างปิดหมดแม้กระทั่งโอกาส แทบมองไม่เห็นอะไรเลย เรายังผ่านกันมาได้เลย เอาตรงนั้นเป็นบทเรียน เป็นพลัง แล้วเตรียมตัวรับมือถ้าวิกฤติมันจะเกิดขึ้นจริง ๆ
13. เราหลีกเลี่ยงวิกฤติไม่ได้หรอก เฉลี่ยทุกๆ 8 – 10 ปีก็จะเจอหนึ่งครั้งอยู่แล้ว ในชีวิตคนเราอย่างน้อยก็ต้องเจอหนัก ๆ 4 – 5 ครั้งในวัยทำงาน ….ควรมาตั้งคำถามว่า “เราจะอยู่รอดได้อย่างไรในแต่ละครั้งมากกว่า” ที่จะไปหาทางหลีกเลี่ยงมัน
14. “ส่วนตัว” ย้ำ “ส่วนตัว” ….เงินเฟ้อขึ้นทุกวัน ปัญหาหลาย ๆ อย่างเกิดจากเงินที่มันด้อยค่านี่แหละ ทำงานไปแลกกับเงินที่ด้อยค่าลง อายุมากขึ้น เรี่ยวแรงน้อยลง แต่ต้องทำงานหนักขึ้นแลกกับเงินที่ถูกด้อยค่าลง แล้วอะไรล่ะที่จะปกป้องเราจากเงินเฟ้อหรือเงินที่มันด้อยค่าได้ นอกจากการลงทุนแล้ว ก็มี ที่ดิน ทองคำ และบิตคอยน์ คือคำตอบ (ย้ำอีก กระจายความเสี่ยงนะ ไม่ได้ทุ่มไปอันใดอันหนึ่ง)
Aun Theeraphat
Delete Comment
Are you sure that you want to delete this comment ?